วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภูมิคุ้มกันคืออะไร



การที่เราไม่เจ็บป่วยง่ายๆ เพราะร่างกายมี ระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทาน คอยปกป้องเราอยู่ ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกการป้องกันตนเองอย่างหนึ่งของร่างกาย เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและอาจเป็นโทษ สิ่งแปลกปลอมนอกจากจุลินทรีย์แล้ว ได้แก่ สารเคมีจากธรรมชาติ เช่น จากพืช จากอาหาร หรือสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น ตลอดจนฝุ่นละออง ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะออกมาต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ร่างกายจึงอยู่ได้อย่างปกติสุข แต่หากในกรณีที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันประสบความล้มเหลว ร่างกายก็จะถูกคุกคามด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เช่นโรคภูมิแพ้ และแพ้ภูมิชนิดต่างๆ เป็นต้น
MacrophageCell-mediated Immune / Antibody /       

ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอาจก่อให้เกิดโรคได้ 3 ประเภท

1. ภูมิคุ้มกันเพี้ยนไวในร่างกาย (Autoimmune Problem) โรคเบาหวานชนิดที่ 1  โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรค SLE , โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน การอักเสบในทางเดินอาหาร
2. ภูมิคุ้มกันไวเกินไปนอกร่างกาย เป็นสาเหตุโรคภูมิแพ้  ลมพิษ , หอบหืด , ไซนัสอักเสบ
3. ภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงต่อ โรคเอดส์, มะเร็ง, โรคตับอักเสบ, วัณโรค, โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย, โรคจาก เชื้อไวรัส, เชื้อรา พาราไซด์

การตอบสนองต่อเชื้อโรคของภูมิคุ้มกัน

ในแต่ ละคนจะมีวิธีการป้องกันตนเอง ที่ธรรมชาติให้มานั้น ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ความสมบูรณ์และประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ระบบที่ใช้เพื่อทำหน้าที่ป้องกันโรคของร่างกายนี้เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ส่วนประกอบหลักของระบบภูมิคุ้มกันก็คือ เม็ดเลือดขาว ซึ่งก็จมีหลายชนิดแบ่งหน้าที่การทำงานกันออกไป ตามชนิดและหน้าที่ที่ทำกันเป็นประจำ .

ภูมิคุ้มกันมีกลไกการกลืนกิน (Phagocytosis)


กระบวนการฟาโกไซโทซิส จะมีเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะเรียกว่า ฟาโกไซต์ (Phagocytes) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งก็คือการกำจัดเชื้อโรคนั่นเอง สิ่งแปลกปลอมที่จะถูกกำจัดโดยวิธีการฟาโกไซโทซิสได้แก่ แบคทีเรีย, เซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และอนุภาคแร่ธาตุขนาดเล็ก เซลล์ที่ทำหน้าที่ ได้แก่ Neutrophil,Monocyte, Macrophage เป็นต้น

 

    จุดสำคัญที่สุดในกระบวนการฟาโกไซโทซิสก็คือความสามารถในการควบคุมการอักเสบ ของมัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอนุภาคที่ถูกโอบกิน โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสนี้สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ หรือในกรณีของเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส จะช่วยชะลอการหายอักเสบของเซลล์เหล่านั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการต้านทางต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการอักเสบกับส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เป็นปกติ โดยการกำจัดสิ่งแปลกปลอมก่อนที่แอนติบอดี้จะกำจัดซึ่งจะทำให้เกิดอาการ อักเสบ


กลไกใช้ภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (Humoral Immune Response )

  Antibody  

       กลไกในกระแสเลือด และกระแสน้ำทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสร้าง Antibody(Ab)จาก B-Lymphocyte แอนติบอดี (Antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดี้แต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (Antigen) โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดี้อยู่ในรูปตัววาย (Y shape)ประกอบด้วยสายพอลีเพปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุล แอนติบอดี เรียกว่า constant region จะบ่งบอก
     ถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลาก หลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดี้จำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า Variable region
ที่มา: วิกิพีเดีย/แอนติบอดี
 ภูมิคุ้มกันมีกลไกการทำลายโดยอาศัยเซลล์ (Cell-mediated Immune Response) 
  Cell-mediated Immune Response หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากเซลล์ ซึ่งได้แก่ T killer cell ตัว T killer cell นี้ จะสามารถกำจัดแอนติเจนได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามลิมโฟไคน์ ( Lymphocytes )ที่เกิดขึ้นก็มีส่วนช่วยในการกำจัดแอนติเจนด้วยเป็นอย่างมาก โดยจะออกฤทธิ์ดึงดูดให้โมโนซัยท์ (monocyte) ออกจากกระแสโลหิต และเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณที่มีแอนติเจนต้นเหตุอยู่ เมื่อโมโนซัยท์ที่เข้ามาอยู่ในเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปเป็น แมคโคฟาจ ( Macrophage ) แล้ว ลิมโฟไคน์จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้แมคโคฟาจ ที่มีความสามารถในการจับกินสิ่งแปลกปลอมได้เก่งยิ่งขึ้น

ภูมิคุ้มกันที่ดี ต้องรู้จักเชื้อโรคโดยเร็ว

       สิ่งแปลกปลอมที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากคือ จุลชีพ  ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา รวมทั้งพวกปาราสิต การที่มีจุลชีพมาอยู่ที่ร่างกายเราเรียกว่ามีการติดเชื้อ (Infection) ซึ่งอาจจะทำให้เจ้าของร่างกายเกิดเป็นโรคติดเชื้อได้ ถ้าจุลชีพนั้นเป็นพวกที่มีความสามารถทำให้เกิดโรค และถ้าจำนวนจุลชีพที่ร่างกายได้รับมากจนภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ไม่สามารถกำจัดมันให้หมดไปก่อน และบุคคลนั้น ยังไม่มีภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อเชื้อโรค แม้ว่าจุลชีพพวกนั้นจะเป็นพวก non-pathogenic หรือพวกไม่ทำให้เกิดโรคในคนทั่ว ๆ ไปก็ตาม บุคคลนั้นได้เกิดมีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะหรือไม่จำเพาะบุคคลนั้นก็จะเกิดเป็นโรคหรือติดเชื้อโรค
       ในกรณีที่ร่างกายไม่เคยได้รับหรือรู้จักกับจุลชีพชนิดนั้นมาก่อน การสร้างแอนติบอดี้, การออกมาของ T killer cell และแมคโครฟาจ(Macrophage) แม้มีความสามารถในPhagocytosis สูง แต่ก็จะเกิดขึ้นได้ช้ามาก จนทำให้จุลชีพขยายพันธ์เพิ่มจำนวนมาก จนทำให้เกิดโรคขึ้นเสียก่อน แต่ถ้าร่างกายเคยได้รับหรือได้พบกับจุลชีพชนิดนั้นมาก่อนแล้ว ภายในร่างกายจะมีข้อมูลสร้างเป็นแอนติบอดี้ และ T killer cell ที่จำเพาะต่อจุลชีพพร้อมอยู่ และจะทำหน้าที่ของมันได้ทันที ที่มีเชื้อเข้ามาสู่ร่างกาย นอกจากนั้นในร่างกายที่เคยได้รับแอนติเจน ชนิดไหนมาก่อนจะมีลิม โฟซัยท์ที่รู้จักแอนติเจนนั้นแล้ว ที่เราเรียกว่า Memory cell ซึ่งเมื่อได้เจอกับแอนติเจนชนิดเดิมอีก มันก็จะเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวโดยเร็ว ทำให้เกิดมีแอนติบอดี้ T killer cell และแมคโครฟาจ ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และมีจำนวนมาก การตอบสนองของ Memory cell ดังนี้ การติดเชื้อโรคเดิมซ้ำ(re-infection) จะทำให้มีการตอบสนอง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมักจะไม่ทำให้เกิด "โรค"

อิมมูโนโกลบุลิน ( Immunoglobulin (Ig) ชนิดต่าง ๆ มีบทบาทในการป้องกันร่างกายแตกต่างกัน เนื่องจากจุลชีพส่วนใหญ่มักจะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือก ซึ่งมักจะมีน้ำคัดหลั่งอาบอยู่ secretory Ig โดยเฉพาะ secretory IgA จะเป็นอิมมูโนโกลบุลินพวกแรกที่ร่างกายใช้ป้องกัน re-infection แต่ถ้าจุลชีพบุกรุกเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อได้ ร่างกายจะใช้แอนติบอดีย์ชนิด IgG ซึ่งซึมผ่านจากกระแสโลหิตผ่านผนังเส้นเลือดออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อได้มาก และจุลชีพที่อยู่ภายนอกเซลล์เนื้อเยื่อจะถูกทำลายด้วย IgG ถ้าจุลชีพเข้าสู่กระแสโลหิต ร่างกายจะใช้ IgG และ IgM ซึ่งเป็นอิมมูโนโกลบุลินที่มีอยู่มากในกระแสโลหิตเพื่อต่อต้านจุลชีพต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น