วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภูมิคุ้มกันคืออะไร



การที่เราไม่เจ็บป่วยง่ายๆ เพราะร่างกายมี ระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทาน คอยปกป้องเราอยู่ ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกการป้องกันตนเองอย่างหนึ่งของร่างกาย เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและอาจเป็นโทษ สิ่งแปลกปลอมนอกจากจุลินทรีย์แล้ว ได้แก่ สารเคมีจากธรรมชาติ เช่น จากพืช จากอาหาร หรือสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น ตลอดจนฝุ่นละออง ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะออกมาต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ร่างกายจึงอยู่ได้อย่างปกติสุข แต่หากในกรณีที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันประสบความล้มเหลว ร่างกายก็จะถูกคุกคามด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เช่นโรคภูมิแพ้ และแพ้ภูมิชนิดต่างๆ เป็นต้น
MacrophageCell-mediated Immune / Antibody /       

ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอาจก่อให้เกิดโรคได้ 3 ประเภท

1. ภูมิคุ้มกันเพี้ยนไวในร่างกาย (Autoimmune Problem) โรคเบาหวานชนิดที่ 1  โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรค SLE , โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน การอักเสบในทางเดินอาหาร
2. ภูมิคุ้มกันไวเกินไปนอกร่างกาย เป็นสาเหตุโรคภูมิแพ้  ลมพิษ , หอบหืด , ไซนัสอักเสบ
3. ภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงต่อ โรคเอดส์, มะเร็ง, โรคตับอักเสบ, วัณโรค, โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย, โรคจาก เชื้อไวรัส, เชื้อรา พาราไซด์

การตอบสนองต่อเชื้อโรคของภูมิคุ้มกัน

ในแต่ ละคนจะมีวิธีการป้องกันตนเอง ที่ธรรมชาติให้มานั้น ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ความสมบูรณ์และประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ระบบที่ใช้เพื่อทำหน้าที่ป้องกันโรคของร่างกายนี้เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ส่วนประกอบหลักของระบบภูมิคุ้มกันก็คือ เม็ดเลือดขาว ซึ่งก็จมีหลายชนิดแบ่งหน้าที่การทำงานกันออกไป ตามชนิดและหน้าที่ที่ทำกันเป็นประจำ .

ภูมิคุ้มกันมีกลไกการกลืนกิน (Phagocytosis)


กระบวนการฟาโกไซโทซิส จะมีเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะเรียกว่า ฟาโกไซต์ (Phagocytes) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งก็คือการกำจัดเชื้อโรคนั่นเอง สิ่งแปลกปลอมที่จะถูกกำจัดโดยวิธีการฟาโกไซโทซิสได้แก่ แบคทีเรีย, เซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และอนุภาคแร่ธาตุขนาดเล็ก เซลล์ที่ทำหน้าที่ ได้แก่ Neutrophil,Monocyte, Macrophage เป็นต้น

 

    จุดสำคัญที่สุดในกระบวนการฟาโกไซโทซิสก็คือความสามารถในการควบคุมการอักเสบ ของมัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอนุภาคที่ถูกโอบกิน โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสนี้สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ หรือในกรณีของเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส จะช่วยชะลอการหายอักเสบของเซลล์เหล่านั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการต้านทางต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการอักเสบกับส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เป็นปกติ โดยการกำจัดสิ่งแปลกปลอมก่อนที่แอนติบอดี้จะกำจัดซึ่งจะทำให้เกิดอาการ อักเสบ


กลไกใช้ภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (Humoral Immune Response )

  Antibody  

       กลไกในกระแสเลือด และกระแสน้ำทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสร้าง Antibody(Ab)จาก B-Lymphocyte แอนติบอดี (Antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดี้แต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (Antigen) โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดี้อยู่ในรูปตัววาย (Y shape)ประกอบด้วยสายพอลีเพปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุล แอนติบอดี เรียกว่า constant region จะบ่งบอก
     ถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลาก หลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดี้จำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า Variable region
ที่มา: วิกิพีเดีย/แอนติบอดี
 ภูมิคุ้มกันมีกลไกการทำลายโดยอาศัยเซลล์ (Cell-mediated Immune Response) 
  Cell-mediated Immune Response หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากเซลล์ ซึ่งได้แก่ T killer cell ตัว T killer cell นี้ จะสามารถกำจัดแอนติเจนได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามลิมโฟไคน์ ( Lymphocytes )ที่เกิดขึ้นก็มีส่วนช่วยในการกำจัดแอนติเจนด้วยเป็นอย่างมาก โดยจะออกฤทธิ์ดึงดูดให้โมโนซัยท์ (monocyte) ออกจากกระแสโลหิต และเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณที่มีแอนติเจนต้นเหตุอยู่ เมื่อโมโนซัยท์ที่เข้ามาอยู่ในเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปเป็น แมคโคฟาจ ( Macrophage ) แล้ว ลิมโฟไคน์จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้แมคโคฟาจ ที่มีความสามารถในการจับกินสิ่งแปลกปลอมได้เก่งยิ่งขึ้น

ภูมิคุ้มกันที่ดี ต้องรู้จักเชื้อโรคโดยเร็ว

       สิ่งแปลกปลอมที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากคือ จุลชีพ  ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา รวมทั้งพวกปาราสิต การที่มีจุลชีพมาอยู่ที่ร่างกายเราเรียกว่ามีการติดเชื้อ (Infection) ซึ่งอาจจะทำให้เจ้าของร่างกายเกิดเป็นโรคติดเชื้อได้ ถ้าจุลชีพนั้นเป็นพวกที่มีความสามารถทำให้เกิดโรค และถ้าจำนวนจุลชีพที่ร่างกายได้รับมากจนภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ไม่สามารถกำจัดมันให้หมดไปก่อน และบุคคลนั้น ยังไม่มีภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อเชื้อโรค แม้ว่าจุลชีพพวกนั้นจะเป็นพวก non-pathogenic หรือพวกไม่ทำให้เกิดโรคในคนทั่ว ๆ ไปก็ตาม บุคคลนั้นได้เกิดมีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะหรือไม่จำเพาะบุคคลนั้นก็จะเกิดเป็นโรคหรือติดเชื้อโรค
       ในกรณีที่ร่างกายไม่เคยได้รับหรือรู้จักกับจุลชีพชนิดนั้นมาก่อน การสร้างแอนติบอดี้, การออกมาของ T killer cell และแมคโครฟาจ(Macrophage) แม้มีความสามารถในPhagocytosis สูง แต่ก็จะเกิดขึ้นได้ช้ามาก จนทำให้จุลชีพขยายพันธ์เพิ่มจำนวนมาก จนทำให้เกิดโรคขึ้นเสียก่อน แต่ถ้าร่างกายเคยได้รับหรือได้พบกับจุลชีพชนิดนั้นมาก่อนแล้ว ภายในร่างกายจะมีข้อมูลสร้างเป็นแอนติบอดี้ และ T killer cell ที่จำเพาะต่อจุลชีพพร้อมอยู่ และจะทำหน้าที่ของมันได้ทันที ที่มีเชื้อเข้ามาสู่ร่างกาย นอกจากนั้นในร่างกายที่เคยได้รับแอนติเจน ชนิดไหนมาก่อนจะมีลิม โฟซัยท์ที่รู้จักแอนติเจนนั้นแล้ว ที่เราเรียกว่า Memory cell ซึ่งเมื่อได้เจอกับแอนติเจนชนิดเดิมอีก มันก็จะเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวโดยเร็ว ทำให้เกิดมีแอนติบอดี้ T killer cell และแมคโครฟาจ ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และมีจำนวนมาก การตอบสนองของ Memory cell ดังนี้ การติดเชื้อโรคเดิมซ้ำ(re-infection) จะทำให้มีการตอบสนอง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมักจะไม่ทำให้เกิด "โรค"

อิมมูโนโกลบุลิน ( Immunoglobulin (Ig) ชนิดต่าง ๆ มีบทบาทในการป้องกันร่างกายแตกต่างกัน เนื่องจากจุลชีพส่วนใหญ่มักจะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือก ซึ่งมักจะมีน้ำคัดหลั่งอาบอยู่ secretory Ig โดยเฉพาะ secretory IgA จะเป็นอิมมูโนโกลบุลินพวกแรกที่ร่างกายใช้ป้องกัน re-infection แต่ถ้าจุลชีพบุกรุกเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อได้ ร่างกายจะใช้แอนติบอดีย์ชนิด IgG ซึ่งซึมผ่านจากกระแสโลหิตผ่านผนังเส้นเลือดออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อได้มาก และจุลชีพที่อยู่ภายนอกเซลล์เนื้อเยื่อจะถูกทำลายด้วย IgG ถ้าจุลชีพเข้าสู่กระแสโลหิต ร่างกายจะใช้ IgG และ IgM ซึ่งเป็นอิมมูโนโกลบุลินที่มีอยู่มากในกระแสโลหิตเพื่อต่อต้านจุลชีพต่อไป



ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ คือ

ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ คือยาที่ทางการแพทย์รับรองว่าใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ ซึ่งในปัจจุบันมียาต้านไวรัสอยู่หลายชนิดด้วยกัน

     ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ นั้นไม่ใช่ยารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ โดยยาต้านไวรัสเอดส์จะช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสมีการแพร่พันธุ์ ทำให้เชื้อไวรัสเอดส์มีปริมาณที่ลดน้อยลงได้ ช่วยไม่ให้เชื้อไวรัสโรคเอดส์ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคเพื่อปกป้องร่างกายของเรานั่นเอง

     ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ หมายถึง ยาที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อหยุดยั้งหรือออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัว การยับยั้งการเกาะจับและเข้าเซลล์(Interference with attachment and entry) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ตัวแรกมีจำหน่ายคือ AZT จนถึงปี ค.ศ.1996 เริ่มมีการใช้ยาต้านไวรัสโรคเอดส์หลาย ตัวผสมกัน  ( HAART = Hight Active Antiretroviral Therapy)จนทำให้เอดส์กลายเป็นโรคที่รักษาได้ แม้ไม่หายขาด มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อเชื้อ HIV หลัก ๆ 4 กลไกคือ
   1.การยับยั้งขบวนการ Reverse Transcription (Inhibition of Reverse Transcription)
  2.การยับยั้งขบวนการ Integration (Inhibition of Proviral Integration)
  3.ทื การยับยั้ง Transcription
  4.การยับยั้ง Post-translation processing    
     
         ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ที่มีใช้ทางคลินิกในปัจจุบัน (Current Antiretroviral Drug in Clinical Use) ในปัจจุบัน ยาต้านไวรัสโรคเอดส์ที่ได้รับการจดทะเบียนโดย U.S.FDA มีทั้งหมด 11 ชนิด ประกอบด้วยยา 4 กลุ่ม คือ
1) กลุ่ม Nucleoside analongues Reverse Transcriptase Inhibitors
2) กลุ่ม Nonnucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs)
3) กลุ่ม HIV-1 Protease Inhibitors
4) -กลุ่มอื่น ๆ เช่น  Fusion  Inhibitor , Integrase  Inhibitor

Trasnasfer Fasctor กับโรคเอดส์

 

Trasnasfer Fasctor กับการดูแลโรคเอดส์

          การทำงานของ Transfer Factor กับการดูแลโรคเอดส์นั้น Transfer Factor จะทำหน้าที่ในการเสริมสร้างค่า CD4+ ภายในร่างกาย ซึ่งจะทำการปรับค่าให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผิดกับยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งจะทำหน้าที่เพียงการควบคุมไม่ให้แสดงอาการของโรคออกมาเพียงเท่านั้น แต่จะไม่ได้ช่วยเพิ่มค่าของ CD4+ นอกจากนี้ Transfer Factor ยังจะทำหน้าที่ใน CD4+ ในการชี้เป้าให้กับเซลล์เม็ดเลือดขาว NK Cell เข้าไปทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อๆไวรัสในระบบ DNA  และยังเป็นตัวเพิ่มและปรับสภาพของระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาแข็งแรงเหมือน เดิม ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันนี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคเอดส์นั้นจะเสียชีวิต โดยภาวะโรคแทรกซ้อนมากกว่าเสีย ชีวิตจากโรคเอดส์โดยตรง เนื่องจากเมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือบกพร่องจะทำ ให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคอย่างง่ายดาย และไม่สามารถทำลายสิ่งแปลกปลอมภายในร่างกายได้ แต่การได้รับ Transfer Factor เข้าไปช่วยนี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ได้ตามปกติ ทำให้ไม่เกิดภาวะโรคแทรกจากโรคอื่นๆได้

การสังเกตุตนเองว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่  การติดเชื้อเอชไอวีมีลักษณะเป็นอย่างไร

        .ภายหลังการได้รับเชื้อเอชไอวี  ร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อสักระยะหนึ่ง  ในปัจจุบันการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ เราจะไม่ได้ตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยตรง แต่จะเป็นการตรวจหาว่าร่างกายว่ามีปฏิกิริยาต่อเชื้อหรือไม่ โดยการตรวจหา แอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody) ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้ รับเชื้อมาใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง (ควรตรวจหาอีกครั้ง หลังจากผ่านความเสี่ยงไปแล้วสัก 3 เดือนขึ้นไป )  ภายหลังการรับเชื้อเอชไอวี บางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้  มีผื่นตามตัว มีต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการเจ็บคอ โดยอาการเหล่านี้มักจะกินเวลาสั้น ๆ และหายไปได้เอง แล้วหลังจากนั้น ผู้ป่วยจะไม่มี อาการใด ๆ เลย อาการข้างต้นจะเหมือนหรือคล้ายกับการติดเชื้อหวัดธรรมดา ทำให้บางรายไม่ได้สังเกตุ ไม่ใส่ใจ หรือบางรายอาจคิดว่าเป็นแค่ไข้หวัดทั่วๆไป เลยทำให้การสังเกตุว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ จากอาการข้างต้นเป็นไปได้ยาก

เมื่อคุณได้รับยาต้านไวรัส hiv

 

ยารักษาโรคเอดส์ (หรือยาต้านเชื้อไวรัส hiv)

.   ไวรัส hiv เป็นเชื้อที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเชื้อชนิดนี้จะมีความจำเพาะกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ชื่อทีลิมโฟ ไซต์ ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่คุ้มกันป้องกันและทำลายการติดเชื้อโรคหรือสิ่ง แปลกปลอมชนิดต่างๆ เซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดนี้ที่เยื่อหุ้มเซลล์จะมีส่วนประกอบที่เรียกว่าซีดี4 ซึ่งเป็นตำแหน่ง สำคัญที่จำเพาะต่อการเกาะตัว ของอนุภาคของ เชื้อ ไวรัส hiv ดังนั้นจึงอาจเรียกทีลิมโฟไซต์ว่าเม็ดเลือดขาว ชนิดซีดี4 เมื่อเริ่มติดเชื้อใหม่ๆ จำนวนเชื้อไวรัสยังมีไม่มาก ก็ จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนในร่างกายมากขึ้นๆ ด้วยการ ทำลาย ทีลิมโฟไซต์ชนิดนี้ไปเรื่อยๆ ถ้ายิ่งร่างกายอ่อนแอและภูมิต้านทานไม่ดี การเพิ่มจำนวนของไวรัสด้วยการทำลายเซลล์ทีลิมโฟไซต์ ก็จะยิ่งมีมากขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนไวรัสมากขึ้น ดังนั้น การตรวจหาระดับความรุนแรงของโรคเอดส์ จึงสามารถตรวจด้วย การตรวจหาปริมาณทีลิมโฟไซต์ หรือเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี4 (CD4 + T-cell) 


เมื่อคุณได้รับยาต้านไวรัส hiv

   อาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้สูง มีผื่นลมพิษ เยื่อบุตาอักเสบ เยื่อบุปากอักเสบ หายใจขัดหรือหอบ เป็นต้น  ซึ่งยาต้านเชื้อไวรัส hiv ที่พบอาการข้างเคียงได้บ่อยที่สุดคือ เนวิราพิน (Nevirapine, NVP) นอกจากนี้ อาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอน ไม่หลับ  ฝันร้าย เป็นต้น อาการเหล่านี้มักเป็นในช่วงแรกของการใช้ยา และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน ๒ เดือน   แต่ถ้ามีอาการซีด ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต น้ำตาลในเลือดสูง  จะมี ไขมันกระจายตัวผิดปกติ (ลงพุง ไขมันพอกที่ต้นคอ หน้าอก แต่หน้าตอบและแขนขาลีบ) โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อที่เริ่มยาต้านฯ เมื่อ CD4+ ต่ำมาก ก็ควรกลับไปปรึกษาแพทย์

CD4+ กับคนเป็นโรคเอดส์

T-helper (CD4+) เกี่ยวอะไรกับคนเป็นโรคเอดส

    ในการสร้างภูมิจะต้องอาศัยเซลล์หลายชนิดที่สำคัญได้แก่ เซลล์ T-helper(CD4+) ซึ่งเป็นเซลล์ที่เชื้อ HIV ชอบ และเป็นที่ไวรัสเข้าไปติดอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิดนี้มากที่สุด เมื่อเซลล์ T-helper(CD4+) ถูกทำลายโดยเชื้อมากจะทำให้ภูมิของร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นปัญหาที่สำคัญของคนติดเชื้อHIVคือปัญหาของโรคที่จะเกิดจากการที่มี ภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงเช่น โรคติดเชื้อฉวยโอกาส  (Opportunistic infections)เช่นโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมะเร็งบางชนิด โรควัณโรค ภายหลังการรับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วๆ ไปเช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการมักกินเวลาสั้นๆ และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ เลย เชื้อไวรัสโรคเอดส์ จะส่งผลให้ระดับเม็ดเลืดขาวที่เรียกว่า T-helper(CD4+) ลดลงอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการของโรคเอดส์เกิดขึ้น เช่นฝ้าในปาก ผื่นคันตามตัว น้ำหนักลด โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับ T-helper(CD4+) ต่ำกว่า 200 cell/mm3

โรคเอดส์คือยังไง

โรคเอดส์คือยังไง คุณรู้ดีแค่ไหน?

โรคเอดส์เป็นแล้วหายได้หรือเปล่าครับ? 

      โรคเอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immuno Deficiency Syndrome)  คือ กลุ่มอาการของความเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ หรือ เอชไอวี (HIV) ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเอดส์อาจมีอาการได้มากมายหลายอย่าง เช่น ไข้ ผื่นขึ้นตามตัว  การ ลุกลามของโรคเริม ปอดอักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ผอมลงและน้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว โรคเอดส์จัด เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงโรคหนึ่ง เพราะผู้ติดเชื้อเอดส์ทุกรายจะเสียชีวิตในเวลาที่ไม่นานนัก ปัจจุบันยังไม่มียาใด ๆ ที่จะรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ และยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ป้องกันโรคเอดส์อย่างได้ผล เมื่อไวรัสโรคเอดส์เข้าสู่ร่างกายคนเรา จะมีระยะฟักตัว เพื่อเพิ่มจำนวนไวรัสระยะหนึ่งก่อนเกิดอาการต่าง ๆ

อาการของโรคเอดส์แสดงออกอย่างไร

      ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์บางคนมีอาการของโรคภายใน 2-3 ปี แต่บางคนก็อยู่ได้นานนับ 10ปี หรือมากกว่านั้น โดยเข้าไปแพร่จำนวนในเม็ดเลือดขาว (Lymphocyte) แล้วทำให้เม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ กลับถูกทำลายเสียเอง  จึงเป็นเหตุให้ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ไม่สามารถป้องกันตนเองจากเชื้อโรคอันซึ่ง ไม่เคยทำให้เกิดโรคในคนปกติได้ เชื่อกันว่าผู้ติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ทุกคนจะกลายเป็นโรคเอดส์ในโอกาสต่อไป เนื่องจากไวรัสโรคเอดส์ มิได้ทำให้เกิดโรคกับคนโดยตรง แต่เป็นตัวทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโรคเอดส์ บกพร่องเสียหายไป อาการของผู้ป่วยโรคเอดส์จึงไม่มีอาการเฉพาะ ที่จะบอกได้ว่าเป็นโรคเอดส์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโรคที่ฉวยโอกาสทำให้เกิดโรค ในผู้รับเชื้อเอดส์นั้นเป็นเชื้ออะไร ดังนั้นผู้ป่วยเอดส์จึงมีอาการได้มากมายหลายระบบ เช่น ท้องเสีย ปอดอักเสบ ผิดหนังอักเสบ วัณโรค การติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา หรือมะเร็งบางชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายโรครวมกันได้ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไรบ้าง?

เชื้อไวรัสโรคเอดส์ จะติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเยื่อเมือกหรือการสัมผัสสารคัดหลั่ง ซึ่งมีเชื้อ เช่น น้ำเลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด น้ำเมือกที่หลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก,การรับเลือด และผ่านทางการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นเลือดร่วมกัน
     นอกจากนี้ โรคเอดส์ ยังมีโอกาสเสี่ยงติดต่อผ่านทางอื่นได้  เช่น การใช้ของมีคมร่วมกัน โดยไม่ทำความสะอาด, การเจาะหูโดยการใช้เข็มเจาะหูร่วมกัน การสักผิวหนัง หรือสักคิ้ว เป็นต้น แต่ก็มีโอกาสน้อยมาก ถ้าไม่โชครายจนเกินไป

Transfer Factor จากน้ำนมเหลือง

 
Transfer Factor จากน้ำนมเหลืองได้รับการทดสอบแยกต่างหาก  และพบว่าสามารถยกระดับการ ทำงานของเซลล์นักฆ่าตามธรรมชาติได้ เป็นพิเศษมากกว่าปกติถึง 103 เปอร์เซ็นต์ เหนือระดับค่าเฉลี่ยปกติ หากตัวเลขนี้ยังไม่น่าประทับใจเพียงพอ  เมื่อมีการนำทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ มาผสมผสานกับสารประกอบธรรมชาติอื่นๆ อีกหลากหลายชนิดที่ส่งเสริมภาวะภูมิคุ้มกัน มันก็สามารถเพิ่มระดับการทำงานของเซลล์นักฆ่าตามธรรมชาติได้ถึง 248 เปอร์เซ็นต์ เหนือระดับค่าเฉลี่ยปกติ

  กรณีการทดสอบบ่งบอกอะไร? พูดง่ายๆ ก็คือตัวเลขที่ไม่เคยมีมาก่อนเหล่านี้ช่วยยกระดับ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ให้อยู่ในระดับสูงสุดของรายชื่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพที่เป็นตัวช่วย เสริมระบบภูมิคุ้มกัน นัยแฝง ใครก็ตามที่มีแนวโน้มว่าจะเจ็บป่วยได้ง่าย เช่น ไข้หวัด คออักเสบ หูติดเชื้อ ไซนัสอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ผิวเป็นผื่นบวมแดง จากการติดเชื้อ)อ่อนเพลียเรื้อรัง โรคติดเชื้อปรสิตและเชื้อรา เนื้องอก ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เหงือกอักเสบ ฯลฯ จำเป็นต้องมองหาประโยชน์ของ Transfer Factors อย่างจริงจัง Transfer Factors แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติระดับแนว หน้าด้วยคุณประโยชน์อันกว้างขวาง ที่เสนอแนะได้ว่า Transfer Factors ไอโซเลทให้บางสิ่งบางอย่างมากกว่าสารประกอบประเภทกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด อื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
.
     Transfer Factor ให้ประโยชน์แก่ทุกคนที่ต้องการเพิ่มระดับ ภูมิคุ้มกันโรคให้มากขึ้นเป็นพิเศษ กลุ่มคนที่ควร จะได้รับ การเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันโรค มากที่สุดคือ เด็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลที่อยู่ภายใต้ ความเครียดหรือความกดดัน โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนแทบจะอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว ทุกวันนี้พวก เราค่อนข้างที่จะพูดถึงกันมากเกี่ยวกับยุคแห่งการให้ กำเนิดบุตร ผู้คนส่วนใหญ่กำลังอยู่ในภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกัน มีความแข็งแรงน้อยลง  Transfer Factors เป็นทางหนึ่งที่สามารถ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันโรค